ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ Hypogonadism ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นกเขาไม่ขัน

ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ Hypogonadism ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นกเขาไม่ขัน

ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (TESTOSTERONE) มีบทบาทอะไรต่อสุขภาพของผู้ชาย

เทสโทสเตอร์โรนคือฮอร์โมนเพศที่สำคัญที่สุดของผู้ชาย มีหน้าที่สำคัญคือกระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชาย และรักษาให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องความต้องการทางเพศ, การสร้างเชื้ออสุจิ, ปริมาณของขนเพชรและขนตามร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก สมองจะควบคุมการสร้างเทสโทสเตอร์โรนซึ่งผลิตจากลูกอัณฑะ ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ดังนี้

  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ภาวะแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์ของอวัยวะเพศชาย
  • ปริมาณของตัวอสุจิมีจำนวนน้อย
  • หน้าอกโตขึ้น

หากทิ้งไว้นาน ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำอาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ชายสูญเสียความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกายบางอย่าง เช่น ปริมาณและการกระจายของขนตามร่างกาย, ขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, เกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) นอกจากนี้ยังทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง เรี่ยวแรงลดลง และมีลูกอัณฑะเล็กลงด้วย

สาเหตุของอาการฮอร์โมนเพศชายต่ำคืออะไร

อาการฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

การบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ (เช่น แผลบาดเจ็บ, การทำหมัน, การฉายรังสี หรือ การทำเคมีบำบัด)
การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ
ความผิดปกติทางด้านฮอร์โมน (เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง, ฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) อยู่ในระดับสูง)
โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ (เช่น โรคเอดส์ โรคตับและไตเรื้อรัง ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วนที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานชนิดนี้)

การรักษาโรคด้วยยาบางชนิด และโรคที่เกิดจากพันธุกรรม (เช่น Klinefelter syndrome, hemochromatosis, Kallmann syndrome, Prader-Willi syndrome และ Mytonic dystrophy) อาจเป็นสาเหตุของภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำได้ ชายสูงอายุส่วนใหญ่จะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับต่ำ และหลายๆ คนในจำนวนนั้นก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีสาเหตุจากอะไร

ตรวจวินิจฉัยภาวะฮอร์โมนเพศต่ำได้อย่างไร

แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อดูการกระจายของขนตามร่างกายว่าเป็นไปตามลักษณะของเพศชายหรือไม่ ตรวจขนาดของหน้าอก ความสม่ำเสมอและขนาดของอัณฑะ ถุงอัณฑะ และอวัยวะเพศด้วย นอกจากนี้ แพทย์ก็จะตรวจเลือดเพื่อประเมินว่าค่าแสดงฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของคุณอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ในการเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินภาวะฮอร์โมนเพศต่ำนั้น คุณอาจต้องใช้เวลาในการตรวจมากกว่า 1 วันในช่วงเช้า (7:00-10:00 น.) มากกว่า 1 ครั้ง เพื่อตรวจเลือด และการตรวจอื่นๆ เพื่อวัดค่าฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ที่อาจมีร่วมด้วย

ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำรักษาได้อย่างไร

การรักษาแบบให้ฮอร์โมนเสริมจะสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพโดยทั่วๆ ไปของผู้ชายดีขึ้นได้ เช่น เพิ่มความรู้สึกทางอารมณ์และการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น มีพลังและความกระฉับกระเฉงมากขึ้น และยังพัฒนาเรื่องต่างๆ นี้ให้มากขึ้นด้วย ได้แก่ ความสนใจในเรื่องทางเพศ การงอกของขนตามร่างกาย ความหนาแน่นของกระดูก และมวลกล้ามเนื้อ วิธีการรักษาแบบเสริมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีหลายวิธี ได้แก่

  • การฉีด
  • การแปะแผ่นที่ผิวหนัง
  • การทาเจล
  • การให้ยารับประทาน

วิธีการใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ความชอบและความอดทนของผู้ป่วย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานสากลเพื่อให้บรรลุผลที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ข้อควรระวัง ยาสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หลั่งเร็ว

ข้อควรระวัง ยาสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หลั่งเร็ว

Eternity Clinic (อีเทอร์นิตี คลินิก) คลินิกเฉพาะทางสมรรถภาพทางเพศ ศัลยกรรมเพศชาย ทางเดินปัสสาวะ ทั้งชายและหญิง คลินิกได้รวบรวมนวัตกรรมการรักษาโรคสมรรถภาพทางเพศไว้ในที่เดียว ซึ่ง ยา ก็เป็นอีกวิธีการรักษาที่ทางคลินิกให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ที่จำหน่ายยาสำหรับโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่ผิดกฎหมาย ใช้ยาปลอม ยาที่ผลิตโดยไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่านการรองรับ ไม่ได้จ่ายยาและอยู่ในการควบคุมดูแลโดยแพทย์ และไม่ได้รับอนุญาตให้จัดจำหน่าย อยู่เป็นจำนวนมาก

โดยเฉพาะยาสำหรับโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นยาควบคุมพิเศษ ซึ่งหมายถึงยาแผนปัจจุบันที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย แม้จะใช้อย่างถูกต้อง ยากลุ่มนี้จึงต้องผ่านการควบคุมดูแลในการใช้จากแพทย์โดยใกล้ชิด เราจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างสูง

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ Erectile Dysfunction

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ Erectile Dysfunction

จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าวของมีราคาแพง หรือราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นรายวัน ทำให้ทุกคนหันมาทำงานกันเพิ่มมากขึ้น โดยลืมที่จะดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเอง จึงทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ รวมไปถึงโรคเครียดด้วย ซึ่งปัญหาทางสุขภาพทั้งทางกาย และทางใจนั้น สามารถทำให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ โดยเฉพาะคุณผู้ชาย ถ้าปัญหาของคุณอยู่ที่การไม่ยอมแข็งตัวของอวัยวะเพศ หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอ ภาษาทางการแพทย์เรียกปัญหานี้ว่า Erectile Dysfunction หรือเรียกย่อๆว่า ED ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกว่า ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่ง เป็นปัญหาที่พบมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของหนุ่มอเมริกันทั้งหมด ส่วนหนุ่มไทยเราก็ไม่น้อยหน้า มีการประมาณกันว่าประมาณครึ่งหนึ่งของชายที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัว โดยมีถึง 2ใน 3 ที่มีปัญหาในระดับปานกลางถึงรุนแรง ประมาณว่าในบ้านเรามีผู้กำลังเผชิญกับโรค ED หรือโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมากกว่า 3 ล้านคน

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนี้เป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของการแข็งตัวของอ งคชาติ เริ่มตั้งแต่ไม่แข็ง หรือว่าแข็งเหมือนกัน แต่แข็งไม่เต็มที่ และก็ไม่สามารถสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดได้ หรือว่าสอดใส่ได้แต่ว่าไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ ผู้ป่วยก็อาจจะมีความรู้สึกทางเพศลดลงได้ด้วย แล้วก็รู้สึกจะเป็นปัญหาต่อผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความมั่นใจในตนเองเวลาที่จะร่วมเพศ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาของครอบครัวได้ เพราะว่าพวกนี้จะต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่เรามาร่วมเพศด้วย ก็คือในตัวของผู้หญิงเอง คราวนี้ถ้าสมมุติว่าผู้ชายมีความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศตรงนี้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้น

การที่อวัยวะเพศชายจะแข็งตัวขึ้นได้นั้น ต้องมีหลายระบบทำงานร่วมประสานกัน เริ่มจากการมีสิ่งเร้ามากระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศก่อน แล้วสมองก็จะส่งสัญญาณไปยังอวัยวะเพศผ่านทางระบบประสาท ทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อควบคุมการไหลเวียนของเลือดเข้าอวัยวะเพศชาย ในขณะเดียวกันหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศจะขยายตัวขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้เลือดไหลมาคั่งอยู่ภายในอวัยวะเพศ และเลือดก็ถูกกักไว้โดยเนื้อเยื่อรอบๆ เป็นผลให้มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ถ้ามีอะไรก็ตามที่มาขัดขวางขบวนการเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ทั้งสิ้น ซึ่งโรคนี้จะสามารถเกิดกับใครได้บ้างนั้น

สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ในรายงานคนที่อายุ 40 – 70 ปี ในประเทศไทยมีคนที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศอยู่ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ 1 ใน 3 แต่ว่าที่เจอหมอ มีไม่ถึงร้อยละ 1 เปอร์เซ็นต์ ที่จริงเจอเยอะมาก แต่คนที่เปิดเผยมีน้อย สามารถเป็นได้ทุกคน แต่ว่าคนที่มีความเสี่ยงก็ได้แก่คนที่ อันที่หนึ่งมีอายุสูง อันที่สองคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ก็อย่างเช่น พวกหลอดเลือด และหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต หรือว่าคนที่เคยผ่าตัดอุบัติเหตุ เช่น ผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน ผ่าตัดท่อปัสสาวะ แล้วก็ผ่าตัดไขสันหลัง และนอกนั้นก็จะมีคนที่มีปัจจัยเสี่ยงก็คือ พวกที่กินยาบางตัว แล้วก็พวกสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายน้อย หรือว่ามีปัญหาทางด้านจิตใจ อย่างเช่น พวกที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น มีอาการซึมเศร้า หรือว่ามีโรคทางจิตประสาท พบโรคนี้ในคนที่มีกลุ่มปัญหาทางด้านจิตใจสูงกว่าคนปกติ

เนื่องจากสาเหตุของ ED หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น มีมากมาย ตั้งแต่โรคของร่างกาย โรคของจิตใจ หรือแม้แต่ผลจากยาบางชนิด หมอจึงต้องถามประวัติทางการแพทย์ของคุณอย่างละเอียด โดยเฉพาะประวัติส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ของคุณ คำถามจะเจาะลึกมาก จนคุณอาจจะต้องพาภรรยาของคุณมาด้วย เพื่อช่วยตอบให้ได้รายละเอียดมาก และแม่นยำที่สุด พ้นจากการซักถามประวัติ หมอจะตรวจร่างกายของคุณ โดยจะมีการตรวจอวัยวะเพศ และตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก มีการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ หรืออาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่นเพื่อค้นหาสาเหตุเป็นพิเศษเฉพาะราย ไป

สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ในรายงานคนที่อายุ 40 – 70 ปี ในประเทศไทยมีคนที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศอยู่ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ 1 ใน 3 แต่ว่าที่เจอหมอ มีไม่ถึงร้อยละ 1 เปอร์เซ็นต์ ที่จริงเจอเยอะมาก แต่คนที่เปิดเผยมีน้อย

อันดับ แรกนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าอันนี้เป็นปัญหา บางคนคิดว่าโรคนี้ไม่ได้เป็นปัญหา เลยไม่ได้มาหาหมอ อย่างเช่นคนที่อายุเยอะๆ เช่น อายุ 60 – 70 ปี บางทีเขาคิดว่าอันนี้เป็นธรรมดาของคนแก่ เลยไม่ยอมมาหาหมอ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะว่าเราต้องมาดู เราต้องมาหาสาเหตุ เพราะฉะนั้นคุณต้องกล้าที่จะเปิดเผยกับทางแพทย์ แล้วก็กล้าเข้ามาปรึกษากับหมอ

ถ้าคุณมีปัญหานี้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือไปหาหมอใกล้บ้านของคุณ หรือถ้าจะให้ดีก็หมอเฉพาะทางของระบบทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ทั้ง นี้เพื่อค้นหาว่าอะไรที่เป็นต้นตอของปัญหาของคุณ แล้วจึงเริ่มแก้ปัญหาไปตามลำดับขั้น โดยเริ่มจากวิธีที่สะดวก ง่าย และปลอดภัย ไปสู่วิธีที่ยาก และซับซ้อนขึ้นตามลำดับ ก่อนอื่นควรไปพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ ตรวจสุขภาพว่ามีโรคแฝงอยู่หรือไม่ ยาที่รับประทานอยู่มีผลข้างเคียงดังกล่าวหรือไม่ หรือถ้าหากเป็นผลจากปัญหาทางด้านจิตใจ ควรได้พูดคุยกับจิตแพทย์ สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น

ส่วนใหญ่แล้วผลกระทบอันที่หนึ่งเป็นที่ตัวผู้ป่วยเองเอง ผู้ป่วยจะสูญเสียความมั่นใจเวลาจะมีเพศสัมพันธ์ จะมีผลต่อ ภาวะทางด้านจิตใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการซึมเศร้า แล้วก็ทำให้การดูแลตัวเองลดน้อยลง อาจจะมีแรง Motivation ใน ชีวิตลดน้อยลง การออกกำลังกาย หรือว่าการอยู่ในสังคมจะทำให้มีปัญหา และอันที่สองก็คือปัญหาครอบครัว เพราะว่าบางคนอายุยังน้อยอยู่ เช่น 40 – 50 ปี ก็เป็นโรคนี้แล้วก็ไม่ได้รับการรักษา ทางด้านภรรยา หรือว่าคู่อาจจะมีปัญหาได้ ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสังคมอีก

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น สมรรถภาพการทำงานของร่างกายย่อมถดถอยไปตามวัย รวมถึงสมรรถภาพทางเพศด้วย ความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ระหว่างสามี ภรรยาเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข ควรสรรหาสิ่งใหม่ๆมาปรับปรุงบรรยากาศชีวิตสมรสของตนเองอยู่เสมอ แต่โรคนี้จะมีทางป้องกันหรือไม่

การป้องกันก็คือเราต้องรู้ว่าอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว เอาตั้งแต่พฤติกรรมก่อน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ก็ควรจะหลีกเลี่ยง การออกกำลังกาย การเลี่ยงภาวะปัญหาทางด้านจิตใจที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า หรือว่าโรคทางจิตเภทเราต้องรู้ แล้วก็การไปตรวจเช็คโรคทางด้านหลอดเลือด เบาหวาน ความดันสูงในคนที่อายุเกิน 40 ปี ถ้ามีก็ต้องรีบรักษา ถ้ารีบรักษาได้เร็วก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้ แนะนำให้มาพบแพทย์ก่อน เพราะว่ามันไม่ได้อยู่ที่การกินยาอย่างเดียว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ไม่มาหาแพทย์ก็ไปซื้อยากินเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ว่าถ้าสมมุติว่าเรามาหาแพทย์ เราจะได้รับการพูดคุยกัน แล้วก็จะได้สามารถเข้าใจถึงสาเหตุ แล้วก็แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ

อย่างไรก็ตาม โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่คุณผู้หญิงเองก็สามารถเป็นได้ แต่ว่าอาการจะรุนแรงน้อยกว่ากันมาก และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทอง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษา และรับการรักษาอย่างถูกต้อง

หย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอย่างไร-เช็คดูว่าคุณหย่อนสมรรถภาพฯหรือไม่

หย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอย่างไร เช็คดูว่าคุณหย่อนสมรรถภาพฯหรือไม่

หย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอย่างไร เช็คดูว่าคุณหย่อนสมรรถภาพฯหรือไม่

โรคหย่อนสมรรถภาพหรือที่หลายๆคนเรียกว่า นกเขาไม่ขัน น้องชายไม่แข็งแรง เสื่อมสมรรถภาพ ลองอ่านบทความดูนะครับว่าท่านเข้าข่ายหรือไม่ จะได้แก้ไขได้ทันเวลา

อาการอย่างไรถึงเข้าข่ายเรียกว่าเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction : ED) หมายถึง การที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้ หรือแข็งได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำ หรือย่างต่อเนื่อง (ผู้ชายอย่างเราไม่มีใครอยากเป็นหรอก จริงไหมครับ)

ระดับความรุนแรงของโรค

  • หย่อนสมรรถภาพอย่างอ่อน : ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวพอดี สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เกือบทุกครั้ง
  • หย่อนสมรรถภาพปานกลาง : ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดี สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้บ้างเป็นบางครั้ง
  • หย่อนสมรรถภาพโดยสิ้นเชิง : ผู้ป่วยไม่สามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดีพอ สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เลย

หย่อนสมรรถภาพไม่ใช่ไร้สมรรถภาพ คำว่า “หย่อนสมรรถภาพทางเพศ” (ED) ในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มากกว่าศัพท์เดิม คือ ไร้สมรรถภาพทางเพศ (Impotence) คำว่าไร้สมรรถภาพทางเพศมีความหมายในทางอับอาย เป็นเหตุให้ผู้ป่วยในอดีตน้อยรายที่จะไปพบแพทย์ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ (เริ่มใจชื้นขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ)

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นรูปแบบหนึ่งของความบกพร่องทางเพศ ได้แก่

  • อาการหลั่งเร็ว (premature ejaculation) อันนี้ก็พอมีทางแก้ครับ ไว้จะเอาบทความเรื่องนี้มาฝากนะครับ
  • อาการหลั่งช้า (delay ejaculation) แหม่…หลั่งช้าเกินไปก็เข้าข่ายนะครับ
  • อาการเฉื่อยชาทางเพศ (deficits in desire)
  • การไม่ถึงจุดสุดยอด (orgasmic disabilities)
  • อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction)

การแข็งตัวของอวัยวะเพศ แบ่งการแข็งตัวออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่

  • เกิดจากจิตใจ ส่วนใหญ่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง
  • เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระตุ้นที่อวัยวะเพศ
  • เกิดในยามวิกาล เกิดขึ้นในช่วงของการหลับที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว

การแข็งตัวส่วนใหญ่เป็นผลร่วมกันของการกระตุ้นทางจิตใจ และปฏิกิริยาสะท้อนกลับ

สาเหตุของการเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ส่วนมากของผู้ที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เชื่อว่าเกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การเสื่อมสังขารตามธรรมชาติหรือสาเหตุทางจิตใจ แต่ความจริงพบว่าโรคนี้สัมพันธ์กับโรคบางโรค การบาดเจ็บ หรือจากการรักษาทั้งทางยา และการผ่าตัด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ประกอบด้วยโรคต่าง ๆ จำนวนมาก ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และโรคมัลติเปิลสเคลอโรซิส (multiple sclerosis) โรคเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปกติต่อหลอดเลือด เส้นประสาทของอวัยวะที่จะมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ยาหลายชนิดก็มีผลด้วยเช่นกัน การลดลงของการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน ก็อาจทำให้ความสนใจในทางเพศลดลง และหรือทำให้การแข็งตัวลดลงด้วย นอกจากนั้นกระบวนการการบำบัดทางจิต อาจรบกวนการกระตุ้นทางด้านจิตใจ หรือลดความตื่นตัวในการรับความรู้สึก

สภาพร่างกายที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

แบ่งออกเป็นห้ากลุ่มหลัก ดังนี้

  • โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด ปัญหาการไหลเวียนของกระแสเลือด ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังอัณฑะ รวมถึงการแข็งตัวของเส้นเลือดแดง (atherosclerosis) โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • การดำรงชีวิต การสูบบุหรี่ (จะยิ่งส่งผลร้ายต่อปัญหาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง) การดื่มสุราจัด และการใช้สารเสพติด (ลดบ้างก็น่าจะช่วยได้เยอะครับ)
  • ความผิดปกติของระบบประสาท และบาดแผล อันเป็นผลจากการได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และกระดูกเชิงกราน
  • การผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมาก และการรักษาด้วยการฉายรังสี
  • การรักษาด้วยยาบางประเภท ยกตัวอย่างเช่นที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการซึมเศร้า และยาบางตัวสำหรับการรักษาโรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร (gastric ulcers) และโรคมะเร็ง

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นโรคที่พบบ่อย และก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวันในหลายด้าน ผู้ชายทั่วโลกเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากกว่า 100 ล้านคน ประมาณว่า 52% ของชายอายุ 40-70 ปี มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศระดับใดระดับหนึ่ง ในหมู่คนเหล่านี้จำนวนมากจะก่อให้เกิดปัญหาความเครียดที่กระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวตามมา และอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าสูญเสียความนับถือตัวเอง และมองภาพตัวเองไม่ดี

เมื่อเรารู้แบบนี้แล้วก็ไม่ต้องวิตกกังวลไปครับ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆที่นำพาโรคนี้มาสู่เรา ในปัจบันมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบรรเทาอาการหย่อนสมรรถภาพมากมายให้เลือกใช้ ถึงจะบอกไม่ได้ว่าจะหายขาดแต่ก็ช่วยบรรเทาได้ บวกกับเราดูแลสุขภาพดีๆ เท่านี้ผมว่าผู้ชายอย่างเราก็คงยิ้มได้ไปอีกนาน