หย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอย่างไร เช็คดูว่าคุณหย่อนสมรรถภาพฯหรือไม่
โรคหย่อนสมรรถภาพหรือที่หลายๆคนเรียกว่า นกเขาไม่ขัน น้องชายไม่แข็งแรง เสื่อมสมรรถภาพ ลองอ่านบทความดูนะครับว่าท่านเข้าข่ายหรือไม่ จะได้แก้ไขได้ทันเวลา
อาการอย่างไรถึงเข้าข่ายเรียกว่าเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction : ED) หมายถึง การที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้ หรือแข็งได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำ หรือย่างต่อเนื่อง (ผู้ชายอย่างเราไม่มีใครอยากเป็นหรอก จริงไหมครับ)
ระดับความรุนแรงของโรค
- หย่อนสมรรถภาพอย่างอ่อน : ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวพอดี สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เกือบทุกครั้ง
- หย่อนสมรรถภาพปานกลาง : ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดี สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้บ้างเป็นบางครั้ง
- หย่อนสมรรถภาพโดยสิ้นเชิง : ผู้ป่วยไม่สามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดีพอ สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เลย
หย่อนสมรรถภาพไม่ใช่ไร้สมรรถภาพ คำว่า “หย่อนสมรรถภาพทางเพศ” (ED) ในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มากกว่าศัพท์เดิม คือ ไร้สมรรถภาพทางเพศ (Impotence) คำว่าไร้สมรรถภาพทางเพศมีความหมายในทางอับอาย เป็นเหตุให้ผู้ป่วยในอดีตน้อยรายที่จะไปพบแพทย์ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ (เริ่มใจชื้นขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ)
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นรูปแบบหนึ่งของความบกพร่องทางเพศ ได้แก่
- อาการหลั่งเร็ว (premature ejaculation) อันนี้ก็พอมีทางแก้ครับ ไว้จะเอาบทความเรื่องนี้มาฝากนะครับ
- อาการหลั่งช้า (delay ejaculation) แหม่…หลั่งช้าเกินไปก็เข้าข่ายนะครับ
- อาการเฉื่อยชาทางเพศ (deficits in desire)
- การไม่ถึงจุดสุดยอด (orgasmic disabilities)
- อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction)
การแข็งตัวของอวัยวะเพศ แบ่งการแข็งตัวออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่
- เกิดจากจิตใจ ส่วนใหญ่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง
- เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระตุ้นที่อวัยวะเพศ
- เกิดในยามวิกาล เกิดขึ้นในช่วงของการหลับที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว
การแข็งตัวส่วนใหญ่เป็นผลร่วมกันของการกระตุ้นทางจิตใจ และปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
สาเหตุของการเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ส่วนมากของผู้ที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เชื่อว่าเกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การเสื่อมสังขารตามธรรมชาติหรือสาเหตุทางจิตใจ แต่ความจริงพบว่าโรคนี้สัมพันธ์กับโรคบางโรค การบาดเจ็บ หรือจากการรักษาทั้งทางยา และการผ่าตัด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ประกอบด้วยโรคต่าง ๆ จำนวนมาก ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และโรคมัลติเปิลสเคลอโรซิส (multiple sclerosis) โรคเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปกติต่อหลอดเลือด เส้นประสาทของอวัยวะที่จะมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ยาหลายชนิดก็มีผลด้วยเช่นกัน การลดลงของการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน ก็อาจทำให้ความสนใจในทางเพศลดลง และหรือทำให้การแข็งตัวลดลงด้วย นอกจากนั้นกระบวนการการบำบัดทางจิต อาจรบกวนการกระตุ้นทางด้านจิตใจ หรือลดความตื่นตัวในการรับความรู้สึก
สภาพร่างกายที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
แบ่งออกเป็นห้ากลุ่มหลัก ดังนี้
- โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด ปัญหาการไหลเวียนของกระแสเลือด ซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังอัณฑะ รวมถึงการแข็งตัวของเส้นเลือดแดง (atherosclerosis) โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- การดำรงชีวิต การสูบบุหรี่ (จะยิ่งส่งผลร้ายต่อปัญหาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง) การดื่มสุราจัด และการใช้สารเสพติด (ลดบ้างก็น่าจะช่วยได้เยอะครับ)
- ความผิดปกติของระบบประสาท และบาดแผล อันเป็นผลจากการได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และกระดูกเชิงกราน
- การผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมาก และการรักษาด้วยการฉายรังสี
- การรักษาด้วยยาบางประเภท ยกตัวอย่างเช่นที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการซึมเศร้า และยาบางตัวสำหรับการรักษาโรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร (gastric ulcers) และโรคมะเร็ง
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นโรคที่พบบ่อย และก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวันในหลายด้าน ผู้ชายทั่วโลกเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากกว่า 100 ล้านคน ประมาณว่า 52% ของชายอายุ 40-70 ปี มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศระดับใดระดับหนึ่ง ในหมู่คนเหล่านี้จำนวนมากจะก่อให้เกิดปัญหาความเครียดที่กระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวตามมา และอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าสูญเสียความนับถือตัวเอง และมองภาพตัวเองไม่ดี
เมื่อเรารู้แบบนี้แล้วก็ไม่ต้องวิตกกังวลไปครับ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆที่นำพาโรคนี้มาสู่เรา ในปัจบันมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบรรเทาอาการหย่อนสมรรถภาพมากมายให้เลือกใช้ ถึงจะบอกไม่ได้ว่าจะหายขาดแต่ก็ช่วยบรรเทาได้ บวกกับเราดูแลสุขภาพดีๆ เท่านี้ผมว่าผู้ชายอย่างเราก็คงยิ้มได้ไปอีกนาน
Add a Comment