รับคำปรึกษาเบื้องต้นฟรี
สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
การรักษาโรคนิ่วโดยวิธีการสลายนิ่ว ESWL (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy) คือ การสลายนิ่ว การรักษาโรคนิ่วโดยการทำให้นิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ โดยพลังงานเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภาย นอกร่างกาย ซึ่งพลังงานนี้จะผ่านเข้าสู่ร่างกายโดยไม่มีการทำลายเนื้อเยื่อ หลังจากที่นิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆแล้ว จะหลุดปนออกมากับปัสสาวะ เป็นการรักษาที่ไม่จำเป็นต้องฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบใดๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาที่ทำการรักษา ไม่มีแผลหรือท่อระบายใดๆออกมานอกร่างกาย ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้หลังจากรับการรักษาแล้ว
รูป : นิ่วในไต
นิ่วในไตจะพบในประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าประเทศเกษตรกรรม นิ่วในไตมักเกิดจากการที่ปัสสาวะเข้มข้นมากและตกตะกอนเป็นนิ่วมักจะเกิดที่ ไตบริเวณกรวยไตและเมื่อนิ่วหลุดลงมาท่อไตก็จะเกิดอาการปวดท้องทันทีและปวด มากพบว่าเมื่อเป็นนิ่วโอกาสที่จะเกิดเป็นซ้ำประมาณครึ่งหนึ่งในเวลา 5-10 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 80 นิ่วสามารถออกได้เอง ถ้านิ่วมีขนาดเล็กกว่า 4 มิลลิเมตร
เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษที่มีการนำคลื่นเสียงความถี่สูง (Supersonic speed) กระแทกก้อนนิ่วให้แตกเป็นผงหรือเม็ดเล็กๆ แล้วขับออกจากร่างกายโดยระบบทางเดินของปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดน้อยกว่าการผ่าตัด ไม่มีอาการแทรกซ้อน ไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน
รูป : การใช้เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะโดยไม่ผ่าตัด
• ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
• ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• ไปรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตรงตามวันนัด
• อาจจะต้องนอนหงาย นอนคว่ำ หรือนอนตะแคง แล้วแต่ตำแหน่งของนิ่ว
• แพทย์จะหาตำแหน่งของนิ่วโดยการเอ็กซเรย์หลังจากเอ็กซเรย์แล้วผู้ป่วยต้องนอนนิ่งๆ เพราะจะทำให้ตำแหน่งของนิ่วไม่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม
• ขณะทำการสลายนิ่วจะมีเสียงดังเบาๆ ทุกครั้งที่มีพลังงานเสียงตกกระทบก้อนนิ่ว
• อาจจะรู้สึกปวดบ้างจากพลังงานเสียงที่ตกกระทบ ถ้าปวดมากจนทนไม่ได้ ต้องบอกให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ เพื่อลดระดับของพลังงานลง หรืออาจหยุดพักเป็นระยะๆ
• บางรายอาจจะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนหรือจะเป็นลม ควรรีบบอกให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ
• วันแรกอาจจะรู้สึกปวดมาก ควรรับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์จัดให้ จะช่วยให้อาการทุเลาลง ปัสสาวะอาจเป็นสีแดงหรือสีน้ำล้างเนื้อไม่ต้องตกใจ ควรนอนพักและดื่มน้ำมากๆ อาการจะดีขึ้นและหายไปใน 1-2 วัน
• งดการทำงานหนักประมาณ 1-2 วันโดยเฉพาะช่วงที่ปัสสาวะเป็นสีแดง
• ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อย 3-4 ลิตรต่อวัน เพื่อให้มีปัสสาวะมากๆเพื่อที่น้ำจะช่วยพัดพาเศษนิ่วที่แตกแล้วให้หลุดออกมาได้เร็วขึ้น
• ถ้ามีอาการปวดมาก ไข้สูง ปัสสาวะน้อยลงหรือปัสสาวะไม่ออก ควรรีบกลับไปพบแพทย์หรือไปตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
• หลังการรักษา และร่างกายเป็นปกติดีควรออกกำลังกายเป็นประจำ และสังเกตว่ามีเศษนิ่วหลุดออกมาพร้อมปัสสาวะบ้างหรือไม่
• ขนาดของนิ่ว: ถ้านิ่วขนาดใหญ่เกิน 2 ซม.หรือมีหลายก้อน ทำให้ต้องทำซ้ำหลายๆครั้งการรักษาจึงจะประสบผลสำเร็จ
• ความแข็งของนิ่ว: ถ้านิ่วมีองค์ประกอบที่แข็งมากอาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง และต้องใช้พลังงานระดับสูงขึ้น บางครั้งผู้ป่วยอาจทนเจ็บไม่ได้ ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี
• การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป้วยตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
• ความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดนิ่วในไต ท่อไต อาจทำให้นิ่วที่แตกแล้วไม่สามารถหลุดออกมาได้ ซึ่งแพทย์ก็จำเป็นต้องหยุดการสลายนิ่ว