โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ Erectile Dysfunction (ED)

อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ทำอย่างไรได้บ้าง shockwave therapy คืออะไร?

 

จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าวของมีราคาแพง หรือราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นรายวัน ทำให้ทุกคนหันมาทำงานกันเพิ่มมากขึ้น โดยลืมที่จะดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเอง จึงทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ รวมไปถึงโรคเครียดด้วย ซึ่งปัญหาทางสุขภาพทั้งทางกาย และทางใจนั้น สามารถทำให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ โดยเฉพาะคุณผู้ชาย ถ้าปัญหาของคุณอยู่ที่การไม่ยอมแข็งตัวของอวัยวะเพศ หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอ ภาษาทางการแพทย์เรียกปัญหานี้ว่า Erectile Dysfunction หรือเรียกย่อๆว่า ED ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกว่า ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่ง เป็นปัญหาที่พบมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของหนุ่มอเมริกันทั้งหมด ส่วนหนุ่มไทยเราก็ไม่น้อยหน้า มีการประมาณกันว่าประมาณครึ่งหนึ่งของชายที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัว โดยมีถึง 2ใน 3 ที่มีปัญหาในระดับปานกลางถึงรุนแรง ประมาณว่าในบ้านเรามีผู้กำลังเผชิญกับโรค ED หรือโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมากกว่า 3 ล้านคน

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนี้เป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของการแข็งตัวของอ งคชาติ เริ่มตั้งแต่ไม่แข็ง หรือว่าแข็งเหมือนกัน แต่แข็งไม่เต็มที่ และก็ไม่สามารถสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดได้ หรือว่าสอดใส่ได้แต่ว่าไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ ผู้ป่วยก็อาจจะมีความรู้สึกทางเพศลดลงได้ด้วย แล้วก็รู้สึกจะเป็นปัญหาต่อผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความมั่นใจในตนเองเวลาที่จะร่วมเพศ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาของครอบครัวได้ เพราะว่าพวกนี้จะต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่เรามาร่วมเพศด้วย ก็คือในตัวของผู้หญิงเอง คราวนี้ถ้าสมมุติว่าผู้ชายมีความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศตรงนี้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้น

การที่อวัยวะเพศชายจะแข็งตัวขึ้นได้นั้น ต้องมีหลายระบบทำงานร่วมประสานกัน เริ่มจากการมีสิ่งเร้ามากระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศก่อน แล้วสมองก็จะส่งสัญญาณไปยังอวัยวะเพศผ่านทางระบบประสาท ทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อควบคุมการไหลเวียนของเลือดเข้าอวัยวะเพศชาย ในขณะเดียวกันหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศจะขยายตัวขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้เลือดไหลมาคั่งอยู่ภายในอวัยวะเพศ และเลือดก็ถูกกักไว้โดยเนื้อเยื่อรอบๆ เป็นผลให้มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ถ้ามีอะไรก็ตามที่มาขัดขวางขบวนการเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ทั้งสิ้น ซึ่งโรคนี้จะสามารถเกิดกับใครได้บ้างนั้น

สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ในรายงานคนที่อายุ 40 – 70 ปี ในประเทศไทยมีคนที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศอยู่ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ 1 ใน 3 แต่ว่าที่เจอหมอ มีไม่ถึงร้อยละ 1 เปอร์เซ็นต์ ที่จริงเจอเยอะมาก แต่คนที่เปิดเผยมีน้อย สามารถเป็นได้ทุกคน แต่ว่าคนที่มีความเสี่ยงก็ได้แก่คนที่ อันที่หนึ่งมีอายุสูง อันที่สองคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ก็อย่างเช่น พวกหลอดเลือด และหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต หรือว่าคนที่เคยผ่าตัดอุบัติเหตุ เช่น ผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน ผ่าตัดท่อปัสสาวะ แล้วก็ผ่าตัดไขสันหลัง และนอกนั้นก็จะมีคนที่มีปัจจัยเสี่ยงก็คือ พวกที่กินยาบางตัว แล้วก็พวกสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายน้อย หรือว่ามีปัญหาทางด้านจิตใจ อย่างเช่น พวกที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น มีอาการซึมเศร้า หรือว่ามีโรคทางจิตประสาท พบโรคนี้ในคนที่มีกลุ่มปัญหาทางด้านจิตใจสูงกว่าคนปกติ

เนื่องจากสาเหตุของ ED หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น มีมากมาย ตั้งแต่โรคของร่างกาย โรคของจิตใจ หรือแม้แต่ผลจากยาบางชนิด หมอจึงต้องถามประวัติทางการแพทย์ของคุณอย่างละเอียด โดยเฉพาะประวัติส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ของคุณ คำถามจะเจาะลึกมาก จนคุณอาจจะต้องพาภรรยาของคุณมาด้วย เพื่อช่วยตอบให้ได้รายละเอียดมาก และแม่นยำที่สุด พ้นจากการซักถามประวัติ หมอจะตรวจร่างกายของคุณ โดยจะมีการตรวจอวัยวะเพศ และตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก มีการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ หรืออาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่นเพื่อค้นหาสาเหตุเป็นพิเศษเฉพาะราย ไป

สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ในรายงานคนที่อายุ 40 – 70 ปี ในประเทศไทยมีคนที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศอยู่ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ 1 ใน 3 แต่ว่าที่เจอหมอ มีไม่ถึงร้อยละ 1 เปอร์เซ็นต์ ที่จริงเจอเยอะมาก แต่คนที่เปิดเผยมีน้อย

อันดับ แรกนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าอันนี้เป็นปัญหา บางคนคิดว่าโรคนี้ไม่ได้เป็นปัญหา เลยไม่ได้มาหาหมอ อย่างเช่นคนที่อายุเยอะๆ เช่น อายุ 60 – 70 ปี บางทีเขาคิดว่าอันนี้เป็นธรรมดาของคนแก่ เลยไม่ยอมมาหาหมอ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะว่าเราต้องมาดู เราต้องมาหาสาเหตุ เพราะฉะนั้นคุณต้องกล้าที่จะเปิดเผยกับทางแพทย์ แล้วก็กล้าเข้ามาปรึกษากับหมอ

ถ้าคุณมีปัญหานี้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือไปหาหมอใกล้บ้านของคุณ หรือถ้าจะให้ดีก็หมอเฉพาะทางของระบบทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ทั้ง นี้เพื่อค้นหาว่าอะไรที่เป็นต้นตอของปัญหาของคุณ แล้วจึงเริ่มแก้ปัญหาไปตามลำดับขั้น โดยเริ่มจากวิธีที่สะดวก ง่าย และปลอดภัย ไปสู่วิธีที่ยาก และซับซ้อนขึ้นตามลำดับ ก่อนอื่นควรไปพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ ตรวจสุขภาพว่ามีโรคแฝงอยู่หรือไม่ ยาที่รับประทานอยู่มีผลข้างเคียงดังกล่าวหรือไม่ หรือถ้าหากเป็นผลจากปัญหาทางด้านจิตใจ ควรได้พูดคุยกับจิตแพทย์ สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น

ส่วนใหญ่แล้วผลกระทบอันที่หนึ่งเป็นที่ตัวผู้ป่วยเองเอง ผู้ป่วยจะสูญเสียความมั่นใจเวลาจะมีเพศสัมพันธ์ จะมีผลต่อ ภาวะทางด้านจิตใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการซึมเศร้า แล้วก็ทำให้การดูแลตัวเองลดน้อยลง อาจจะมีแรง Motivation ใน ชีวิตลดน้อยลง การออกกำลังกาย หรือว่าการอยู่ในสังคมจะทำให้มีปัญหา และอันที่สองก็คือปัญหาครอบครัว เพราะว่าบางคนอายุยังน้อยอยู่ เช่น 40 – 50 ปี ก็เป็นโรคนี้แล้วก็ไม่ได้รับการรักษา ทางด้านภรรยา หรือว่าคู่อาจจะมีปัญหาได้ ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสังคมอีก

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น สมรรถภาพการทำงานของร่างกายย่อมถดถอยไปตามวัย รวมถึงสมรรถภาพทางเพศด้วย ความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ระหว่างสามี ภรรยาเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข ควรสรรหาสิ่งใหม่ๆมาปรับปรุงบรรยากาศชีวิตสมรสของตนเองอยู่เสมอ แต่โรคนี้จะมีทางป้องกันหรือไม่

การป้องกันก็คือเราต้องรู้ว่าอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว เอาตั้งแต่พฤติกรรมก่อน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ก็ควรจะหลีกเลี่ยง การออกกำลังกาย การเลี่ยงภาวะปัญหาทางด้านจิตใจที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า หรือว่าโรคทางจิตเภทเราต้องรู้ แล้วก็การไปตรวจเช็คโรคทางด้านหลอดเลือด เบาหวาน ความดันสูงในคนที่อายุเกิน 40 ปี ถ้ามีก็ต้องรีบรักษา ถ้ารีบรักษาได้เร็วก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้ แนะนำให้มาพบแพทย์ก่อน เพราะว่ามันไม่ได้อยู่ที่การกินยาอย่างเดียว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ไม่มาหาแพทย์ก็ไปซื้อยากินเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ว่าถ้าสมมุติว่าเรามาหาแพทย์ เราจะได้รับการพูดคุยกัน แล้วก็จะได้สามารถเข้าใจถึงสาเหตุ แล้วก็แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ

อย่างไรก็ตาม โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่คุณผู้หญิงเองก็สามารถเป็นได้ แต่ว่าอาการจะรุนแรงน้อยกว่ากันมาก และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทอง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษา และรับการรักษาอย่างถูกต้อง